นโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มอบความไว้วางใจให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานกรรมการ กนป. ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน กว่า 6 ปีเศษ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยชนิดนี้แทบจะไม่มีอนาคตเลย แต่ช่วง 3 ปีกลับมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเติบโตทำรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มโดยรวม สูงสุดแตะ 1 แสนล้านบาทในปี 2564 นี้เป็นประวัติการณ์ที่ต้องบันทึกไว้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญของรัฐบาล ภายในการกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร ถือได้ว่าเป็นการบริหารนโยบายที่ประสบผลสำเร็จ ทำให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มซึ่งส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 6 ของทั้งประเทศอยู่ใน 5 จังหวัด จากชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ และพังงา มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ มาพบกับ พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ทีมงานของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่อยู่เบื้องหลังในเรื่องนี้กัน
งานที่ได้รับผิดชอบถือเป็นข้าราชการการเมือง งานที่รองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่านมอบหมายให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการ ประจำตัว ขึ้นอยู่กับรองนายกฯ แต่ละท่าน ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมากำหนด ผมเองได้รับมอบหมายให้ทำงานด้านอำนวยการร่วมกับ ที่ปรึกษา ผู้ช่วยรัฐมนตรี และคณะทำงานที่ท่านรองนายกฯ แต่งตั้งเข้ามาช่วยงาน จึงมีการแบ่งงานกันเป็นก้อนๆ ตามความรู้ความสามารถ ส่วนผมเองดูแลงานภาพรวมด้วย เรื่องงานการเมืองแยกไปอีกหนึ่งทีม งานก้อนที่ผมดูแลเองมีความหลากหลาย เช่น งานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ งานนโยบายปาล์มนำ้มัน งานบังคับใช้กฎหมายสื่อสังคมออนไลน์และอินเตอร์เน็ท รวมทั้งงานการข่าว ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในการทำงานตอนรับราชการตำรวจ และต้องใช้วิชาการที่เรียนมาจากต่างประเทศด้านการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเป็นหลัก
ระหว่างปี 2557 ถึงต้นปี 2562 เป็นช่วงเวลาที่ถือว่ายากลำบากสำหรับปาล์มน้ำมัน ต้องเผชิญปัญหาหลายด้าน พื้นที่ปลูกปาล์มนำ้มันเริ่มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคายางตกตำ่ ชาวสวนโค่นต้นยางหันมาปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น โดยในปี 2562 มีพ้ืนที่ให้ผลมากถึง 5.6ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ 2.99ตัน (เปรียบเทียบมาเลเซีย 3.19 ตัน) ผลผลิตปาล์มทะลายทั้งประเทศ 16.77 ล้านตัน ราคาต้นทุนประมาณ กก.ละ 3.00บาท ก่อนหน้านี้ราคาปาล์มทะลายเคยตกตำ่ถึง กก.ละ 2 บาทเศษ นำ้มันปาล์มดิบที่สกัดได้ประมาณ 3.18?ล้านตัน ความต้องการใช้สำหรับอุปโภคบริโภค 1.37 ล้านตัน (38%) พลังงานไบโอดีเซล 1.35 ล้านตัน (๓๗%) ส่งออกได้น้อยมากราว 2.9 แสนตัน ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้เพราะอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสต๊อกส่วนเกินที่เหลือใช้สะสมสูงขึ้นต่อเนื่องมีสต๊อกสิ้นปี 61 มากเกือบ 5 แสนตัน คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ได้ออกมาตรการเพิ่มความต้องการใช้ด้านพลังงาน เพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซล จาก B5 เป็นดีเซลฐาน B7 และส่งเสริมสูตร B20 รวมทั้งมาตรการดูดซับสต๊อกส่วนเกินนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าอีกหลายครั้ง รวม 3.3 แสนตัน แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้น สต๊อกสิ้นปี 62 เริ่มทรงตัวที่ 3.1 แสนตัน สรุปปัญหาหลัก อยู่ที่ผลผลิตปาล์มนำ้มันล้นตลาด ความต้องการใช้ภายในประเทศค่อนข้างน้อย การส่งออกน้อยมาก สต๊อกพุ่งสูงขึ้นทุกปี ส่งผลต่อราคาปาล์มทะลายตกตำ่ ชาวสวนขาดทุน
ต้องยกเป็นผลงานของ พล.อ.ประวิตร ที่ออกมาตรการเพื่อเกษตรกรชาวสวนปาล์มเป็นหลัก โดยยึดหลักอุปสงค์ อุปทาน และกลไกตลาด ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ปี 62 เป็นปีที่มาตรการเพิ่มความต้องการใช้ภายในประเทศเริ่มเห็นผล ต่อมาในปี 2563 รัฐบาลให้การสนับสนุนไบโอดีเซล B๑๐ เป็นดีเซลฐานให้สูตร B7 เป็นทางเลือก ทำให้ปริมาณการใช้นำ้มันปาล์มเป็นพลังงานเพ่ิมขึ้นเป็นปีละ 1.69 ล้านตัน (47%) การส่งออกราว 2 แสนตัน ขณะเดียวกันปริมาณการใช้อุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นด้วยเป็น 1.44 ล้านตัน (40%) ส่งผลให้สต๊อกสิ้นปีลดลงเหลือเพียง 2.8 แสนตัน โดยลดลงถึงระดับตำ่สุดที่ 9.6 หมื่นตัน ณ สิ้นเดือน ก.พ.64 ปัจจัยเสริมที่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น แม้ปริมาณการใช้ภายในประเทศจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตโควิด 19 คือ มาตรการส่งเสริมการส่งออก รวมทั้งความต้องการใช้น้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มสัดส่วนทดแทนน้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาแพงขึ้น เช่น นำ้มันถั่วเหลือง ทำให้ในปี 2564 มีการส่งออกมากถึง 5.35 แสนตัน
ตัวเลขที่ชาวสวนปาล์มน้ำมันปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นผลงานของรัฐบาลที่เห็นชัดเจนคือ ในปี 2562 ปาล์มทะลายราคาเฉลี่ยทั้งปี กก.ละ 3.11 บาท ในปี 2563 ราคาเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 4.80 บาท แต่ในช่วงปาล์มขาดคอราคาเฉลี่ยทั้งเดือนทะลุ กก.ละ 7 บาทในเดือน ม.ค. และ ธ.ค.63 ช่วงฤดูปาล์มดกราคาเฉลี่ยทั้งเดือนตำ่กว่า กก.ละ 4บาท ระหว่างเดือน เม.ย. ถึง ส.ค.63 (นาน 5 เดือนเศษ) ในปี 2564 ตลอด 11 เดือนที่ผ่านมา ราคาปาล์มทะลายยังไม่เคยตำ่กว่า กก.ละ 4 บาท แม้จะเผชิญสถานการณ์โควิด ความต้องการใช้ลดลงจากอุปโภคบริโภคและพลังงานไบโอดีเซล จากหลายๆ ปัจจัย เช่น มีการส่งออกสูง ปริมาณการใช้ สต๊อกส่วนเกิน รวมทั้งราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกเป็นปัจจัยบวกทั้งสิ้น ปาล์มทะลายราคาเฉลี่ยแต่ละเดือนอยู่ที่ กก.ละ 4.82 ถึง 8.96บาท โดยทำสถิติราคาสูงสุดทะลุ กก.ละ 9 บาท
หากคิดมูลค่าทางเศรษฐกิจของปาล์มน้ำมันจากผลผลิตทั้งปี คูณด้วยราคาปาล์มทะลายเฉลี่ยทั้งปี รายได้ของชาวสวนปาล์ม ในปี 2562 ประมาณ 50,818 ล้านบาท ในปี 2563 เพิ่มเป็น 71,612 ล้านบาท และในปี 2564 (ถึงสิ้นเดือน พ.ย.) เพิ่มเป็น 101,008 ล้านบาท สรุปรายได้เมื่อเทียบกับตัวเลขปี 62 เพิิ่มขึ้นในปี 63 ประมาณ 41 % และเพ่ิมขึ้นในปี 64 มากถึง 100% มูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งปีที่สูงเกิน 1 แสนล้านบาท นำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยหมุนเวียนอีกหลายรอบ ยังไม่นับรวมกระบวนการกลางนำ้ และปลายน้ำของนำ้มันปาล์มดิบ ไบโอดีเซล นำ้มันปาล์มขวดที่ใช้ภายในประเทศและที่ส่งออกนับว่ามีตัวเลขที่สูงอีกหลายเท่า
ชาวสวนปาล์มน้ำมันเมื่อเห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้แล้ว หากไม่ชื่นชมรัฐบาล โดยเฉพาะ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธาน กนป. ที่ขับเคลื่อนนโยบายและกำกับดูแลมาตรการต่างๆ ส่งผลให้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคต ต้องยอมรับว่า การแก้ปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงของ กบง. ที่ปรับสูตรไบโอดีเซลเป็น B 7 ชนิดเดียวเพียงระยะเวลาสั้นๆ ในขณะนี้ ยังไม่กระทบกับปริมาณการใช้ภายในประเทศเท่ากับช่วงวิกฤตโควิด 19 โดยเฉพาะปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ ณ สิ้นเดือน พ.ย. ที่ลดลงมาอยู่ที่ 2.264 แสนตัน ซึ่งตำ่กว่าสต๊อกสิ้นปี 63 (2.8 แสนตัน) ชี้ให้เห็นว่า ยังไม่ส่งผลกระทบกับราคาปาล์มทะลายที่ขณะนี้ อยู่ที่ กก.ละ 7.90 ถึง 8.80 บาท ย่อมไม่เป็นธรรมหากจะจัดม็อบมากดดันกล่าวหารัฐบาลไม่ดูแลเกษตรกรชาวสวนปาล์ม
นอกจากนี้ กนป. ยังได้ให้ความเห็นชอบมาตรการส่ิงเสริมให้แปรรูปน้ำมันปาล์มดิบเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร กับส่่ิงแวดล้อม เช่น น้ำมันหล่อลื่นชีวภาพ น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า ผงซักฟอกชีวภาพ พาราฟิน ยาปราบศัตรูพืชชีวภาพ นำ้มันกรีนดีเซล น้ำมันอากาศยาน ซึ่งอยู่ในระหว่างการเร่งรัดดำเนินการเพื่อเพิ่มมูลค่าของปาล์มน้ำมันให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีค่าและอนาคตที่สดใสของไทยต่อไป